Category Archives: Blog 101
Analog Sensors vs Digital Sensors
ในส่วนของไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller), ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System), หรือ ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things – IoT) เซ็นเซอร์มีบทบาทสำคัญในการตรวจจับปริมาณ, ข้อมูลทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน แสง สี แรงดัน การเคลื่อนที่ แล้วเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตรวจจับได้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อทำไปอ่าน วัด ประมวลผล หรือส่งสัญญาณต่อไปยังระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อแสดงเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ หรือ ใช้งานต่อ เซ็นเซอร์สามารถแบ่งออกเป้น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เซ็นเซอร์แบบอนาล็อก และ เซ็นเซอร์แบบดิจิทัล ซึ่งการเลือกใช้เซ็นเซอร์ชนิดต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการทำความเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ประเภทนี้จึงมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง … Continue reading
Robot Operating System(ROS) Part 3
Robot Operating System(ROS) Part 3 ภาษาในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นใน ROS ROS ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษาสองภาษาหลักคือ C++ และ Python ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมใช้มากที่สุดในการพัฒนาแอปพลิเคชันหุ่นยนต์ สามารถใช้ไลบรารี roscpp เพื่อเขียนโค้ดภาษา C++ และไลบรารี rospy เพื่อเขียนโค้ดภาษา Python นอกจากนี้ยังมีไลบรารีบางส่วนที่ช่วยสร้างการเชื่อมต่อกับกับภาษาอื่น ๆ เช่น rosjava สำหรับภาษา Java และ roslibjs หรือ rosnodejs สำหรับภาษา JavaScript รูปที่ 1 communication & Language layerใน ROS[2] … Continue reading
ROS (Robot Operating System) Part 2
Robot Operating System(ROS) Part 2 เครื่องมือสื่อสาร การพัฒนาหุ่นยนต์ด้วย ROS เราสามารถแยกส่วนต่างๆของโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ของเราให้เป็นโปรแกรมย่อยๆหลายโปรแกรมที่ทำงานร่วมกันได้ โดยโปรแกรมย่อยๆแต่ละตัวนี้จะเรียกว่า Node การทำให้โปรแกรมหรือ Node ย่อยๆสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องจะต้องใช้เครื่องมือสื่อสารของ ROS สำหรับจัดการการสื่อสารระหว่างแต่ละ Node 3 ส่วน ดังนี้: Topics: ใช้สำหรับส่งสตรีมข้อมูล (Data Stream) ระหว่าง Node ตัวอย่างเช่น เรากำลังตรวจสอบอุณหภูมิของมอเตอร์บนหุ่นยนต์ Node ที่ตรวจสอบอุณหภูมิของมอเตอร์นี้จะส่งสตรีมข้อมูลพร้อมค่าอุณหภูมิเข้าไปในระบบ Node อื่นๆ ที่ทำงานอยู่ สามารถติดตาม (Subscribe) หัวข้อ(topic) นี้และรับข้อมูลไปใช้งานได้ Services: เป็นส่วนที่ช่วยให้เราสร้างการสื่อสารระหว่างแต่ละ Node … Continue reading
ROS (Robot Operating System) Part 1
Robot Operting System(ROS) ROS เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ในด้านหุ่นยนต์ ซึ่งไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริงๆ หรือเฟรมเวิร์ค แต่ทำงานเสมือนเป็นมิดเดิลแวร์ (Middleware) ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อและจัดการการสื่อสารระหว่างโปรแกรมในระบบที่ทำงานร่วมกันหลายๆโปรแกรม ROS ถูกออกแบบให้เป็นสถาปัตยกรรมที่รองรับการพัฒนาแบบมีโมดูลและสามารถนำโค้ดที่พัฒนาขึ้นมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งช่วยลดเวลาและความยุ่งยากในการพัฒนาซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ได้ ระบบนี้มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้ได้กับหุ่นยนต์หลากหลายประเภท เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่, แขนหุ่นยนต์, โดรน, เรือ, เครื่องขายของ เป็นต้น ROS มีเครื่องมือการสื่อสารหลายอย่างเช่น topics, services, actions เพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างโปรแกรม และมีไลบรารีที่นำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น … Continue reading
การเคลื่อนที่อย่างชาญฉลาด (Intelligent Mobility)
การเคลื่อนที่อย่างชาญฉลาด (Intelligent Mobility) ได้เชื่อมโยงกับการสื่อสารไร้สายสมัยใหม่ จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดแนวโน้มสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในอนาคต ภายในปี ค.ส. 2050 กว่า 85% ของประชากรโลกที่พัฒนาแล้วจะอาศัยอยู่ในเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่องภายในเมืองดังกล่าวและเส้นทางคมนาคม การสื่อสารไร้สายอัตราสูงที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้ โดยยังรวมถึงผู้คนจำนวนมากที่เคลื่อนไหวทั้งเครือข่ายการขนส่งสาธารณะและส่วนตัว อย่างไรก็ตามการเชื่อมต่อไร้สายไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคล การทำงานที่ไร้การต่อต้านของสังคมที่เคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยแนวทางการเคลื่อนที่อย่างชาญฉลาด ซึ่งยานพาหนะขนส่งที่เชื่อมต่อกัน อาทิ รถยนต์ รถไฟ รถประจำทาง เรือ เครื่องบิน รถจักรยานยนต์ และจักรยาน คาดว่าจะเป็นวัตถุอัจฉริยะที่ติดตั้งแพลตฟอร์มหลายเซ็นเซอร์ที่ทรงพลัง มีความสามารถในการสื่อสาร การประมวลผล และการเชื่อมต่อบนโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต (IP) เช่น มีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานยานพาหนะและการขนส่งต่างๆ ประเด็นดังกล่าวนี้ต้องการการสื่อสารและเครือข่ายหลักที่แพร่หลายมากขึ้น ซึ่งจะเคลื่อนการวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G และยังเปิดการใช้งานโดยการสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่ในอนาคตที่ใช้แนวคิดใหม่ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล … Continue reading
Smart stock market analysis with PowerBI tool (ตอนที่ 3)
การใช้ AI โมเดลสำหรับการทำนายมูลค่าของหุ้นใน PowerBI สิ่งที่ต้องมี 1. โปรแกรม PowerBI2. โปรแกรม Python3. ไฟล์โมเดลเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning model) ที่สอนมาแล้ว จากตอนที่ 24. ไฟล์ข้อมูล AOT ที่จัดเก็บไว้ใน excel จากตอนที่ 2 ส่วนที่ 1 การนำเข้าข้อมูลภาพรวมและความสามารถของ PowerBI ได้กล่าวไปแล้วในส่วนที่ 1 ดังนั้นเนื้อหาในตอนนี้จะเป็นการนำโมเดลที่เราสร้างขึ้นมาไปทำนายข้อมูลบน PowerBI และสร้างกราฟที่ interactive กับผู้ใช้งานแบบง่ายได้ โดยทั่วไป PowerBI สามารถดึงข้อมูลได้ง่ายมากและได้มาจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น Web, SQL … Continue reading
Smart stock market analysis with PowerBI tool (ตอนที่ 2)
การสร้าง AI โมเดลสำหรับการทำนายมูลค่าของหุ้นด้วย Python ทักษะที่ต้องมี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python “AI สามารถเก็งกำไรหุ้นเปรียบเทียบกับผู้เชี่ยวชาญได้หรือไม่ ?” ผู้อ่านคงเคยได้รับรู้จากข่าวที่ผ่านมาว่า AI สามารถชนะมนุษย์ในการแข่งขันการเดินหมากบนกฎของหมากกระดานได้โดยเลือกการเดินหมากไปในช่องที่ความเป็นไปได้ของการชนะที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ AI สามารถทำนายราคาหุ้นที่มีความเป็นไปได้ที่สุดได้ ทำนายวันที่จะมีราคาหุ้นขึ้นหรือราคาหุ้นลงได้ในเงื่อนไขที่ว่าเราให้ข้อมูลและสร้างโมเดลที่เหมาะสม อย่างไรก็ดีบทความนี้ได้จำลองการสร้างโมเดล AI ทำนายราคาหุ้นจากราคาหุ้นในอดีตเพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาเพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคตเท่านั้น โดยทั่วไปราคาหุ้นจะมีผลกระทบมาจากปัจจัยที่หลากหลายมากการเติบโตทางเศรษฐกิจ งบการเงินบริษัท เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย หรือแม้แต่การเก็งกำระยะสั้นแบบ day trade ยังต้องพิจารณาแนวโน้ม ปริมาณการซื้อขาย ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เนื้อหาในบทความจะยกตัวอย่างการวิเคราะห์หุ้น AOT เพื่อความง่ายจะใช้เพียงข้อมูลราคาอย่างเดียว ถ้าผู้อ่านจะใช้จริงอาจจะต้องไปเพิ่มข้อมูลปริมาณและปรับขนาดของกรอบเวลาให้หลากหลาย เนื้อหาจะแบ่งขั้นตอนเป็นส่วนๆ ส่วนที่ … Continue reading
Smart stock market analysis with PowerBI tool (ตอนที่ 1)
ภาพรวมของบทความ บทความนี้จะแนะนำการเขียนโปรแกรมและใส่ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น (Artificial Intelligence, AI) เข้าไปใน PowerBI เพื่อที่จะประมวลผลข้อมูลราคาหุ้นที่ผ่านการโหลด เตรียมและจัดเก็บอยู่ใน PowerBI รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่สรุปแล้วผ่านภาพหรือกราฟที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้ (Dashboard) แบบง่ายๆ จากความสามารถของ PowerBI โดยที่ผู้ใช้สามารถเห็นแนวโน้มของกราฟราคาหุ้น ปรับเลือกช่วงที่ต้องการดู กดเลือกแสดงค่าราคาในวันที่เลือก ผู้เขียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆ ไป ตอนที่ 1 นี้จะเป็นการแนะนำพื้นฐานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ตลาดหุ้นด้วยเครื่องมือ PowerBI ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางด้านข้อมูลได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ทุกอย่างรอบตัวเราสามารถถูกจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลแบบดิจิตอลได้ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลก็ได้พัฒนาไปอย่างมาก เมื่อมีข้อมูลที่ครอบคลุมและเทคโนโลยีด้าน AI ที่พัฒนาไปมาก ทำให้ปัจจุบันนี้ เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น การติดตามพฤติกรรมของลูกค้าทั้งจากลูกค้าในร้านค้าจริงหรือลูกค้าในอินเตอร์เน็ต การพัฒนารถยนต์ขับขี่อัตโนมัติที่ทำให้รถยนต์สามารถขับขี่ไปถึงปลายทางได้อย่างปลอดภัยโดยเรานั่งพักผ่อนได้ การกำหนดราคาไฟล์ตบิน และการทำนายการล่าช้าของเครื่องบินในงานอุตสาหกรรมการบินการพัฒนาระบบบ้านอัจฉริยะที่ช่วยดูแล สั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านไปจนกระทั้งรักษาความปลอดภัยให้เรา … Continue reading
อินเทอร์เน็ตของยานพาหนะ (Internet of Vehicles : IoV)
ปัจจุบันการเข้าถึงเครือข่ายยานยนต์ขนาดใหญ่และแพร่หลายของเทคโนโลยียานพาหนะสู่สรรพสิ่ง (vehicle-to-everything : V2X) แบบเดิม ซึ่งกำลังพัฒนาไปสู่อินเตอร์เน็ตของยานพาหนะ (Internet of Vehicles : IoV) สำหรับรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการใช้งานยานพาหนะขั้นสูงที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ระบบขนส่งอัจฉริยะ (ITS) และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ยานพาหนะ เทคโนโลยี IoV ได้รับการพัฒนาและประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทางวิวัฒนาการ และความท้าทายและโอกาสที่ IoV นำมาให้ รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทางประวัติศาสตร์และสถานะที่เป็นอยู่ของเทคโนโลยี V2X ตลอดจนการกล่าวถึงทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดใหม่สู่ IoV ช่วงแรกและเปรียบเทียบ V2X เซลลูลาร์กับการสื่อสารตามมาตรฐาน IEEE 802.11 V2X โดยพิจารณาถึงการเกิดขึ้นของบิ๊กดาต้า (big data) และระบบคลาวด์เอดจ์ เน้นความท้าทายทางเทคนิคที่สำคัญและโอกาสไปสู่ … Continue reading
อินเทอร์เน็ตของโดรน (Internet of Drones: IoD)
อากาศยานไร้คนขับหรือโดรนเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ในการจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน จำนวนโดรนที่เพิ่มขึ้นในน่านฟ้าที่ระดับความสูงต่ำ การเชื่อมโยงโดรนเพื่อสร้างอินเทอร์เน็ตของโดรน มีแนวโน้มความต้องการในการปรับปรุงความปลอดภัยรวมถึงคุณภาพการบิน แต่ยังคงมีปัญหาด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับ IoD ข้อกำหนดที่สำคัญของการรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการสื่อสาร IoD เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมและเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระหว่างโดรนและผู้ใช้ โดรนกำลังกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่พร้อมใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบินภารกิจในน่านฟ้าควบคุมโดยใช้โดรนหลายตัว ขณะที่เทคโนโลยีผลิตส่วนประกอบบนบอร์ดของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) โดยรวมถึงโปรเซสเซอร์ เซ็นเซอร์ การจัดเก็บ และอายุการใช้งานแบตเตอรี่ IoD แสดงถึงยานพาหนะเชื่อมต่อโดรนรวมถึงฟังก์ชั่นการเคลื่อนที่บนคลาวด์เพื่อให้สามารถเข้าถึงและควบคุมโดรนจากระยะไกล รวมถึงการขนถ่ายที่ปรับขนาดได้และความสามารถของการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ระยะไกล สภาพแวดล้อม IoD รวมถึงสถานีฐาน ลิงก์สัญญาณ และสภาพแวดล้อมบนคลาวด์ โครงสร้างเรียบง่ายส่งผลต่อเครื่องบินความเร็วสูงที่สามารถบินได้นานขึ้นและครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น UAV ใช้เทคนิคที่ไม่ใช้พลังงานเพื่อทำให้การร่อนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าเครื่องบินสามารถบรรทุกน้ำหนักบรรทุกได้มากขึ้นในระยะทางที่ไกลขึ้นเมื่อบินโดยใช้พลังงานน้อยลง ทำให้สามารถบรรทุกชุดเซ็นเซอร์ขั้นสูงที่ จำนวนโดรนประสานงานกันมากขึ้นและทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุภารกิจที่ซับซ้อน ในสถานการณ์เช่นนี้ การสื่อสารด้วยโดรนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจระบบการสื่อสาร UAV … Continue reading